ป้ายกำกับ: Ascomycete

การค้นพบแบสิดิโอมัยสีทยีสต์ในไลเคน

Screen Shot 0028-07-31 at 1.34.08 PM.png

เป็นเวลามากกว่า 150 ปีแล้ว ที่เราทราบกันมาว่า ไลเคน (Lichen) นั้นเกิดจากการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด คือ รา (Fungus) และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthesizing microbes) เช่น สาหร่าย (Algae) หรือไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) อยู่อาศัยตามเปลือกนอกของต้นไม้ หรือพบได้ตามผนังของตึกอาคารเก่าๆ

มีนักวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามที่จะจำลองสภาวะเพื่อเพาะเลี้ยงไลเคนในห้องปฏิบัติการ แต่ก็ทำได้เพียงไลเคนที่มีโครงสร้างค่อนข้างพื้นฐาน ไม่เหมือนกับที่พบในธรรมชาติ และมีการตรวจสอบดีเอ็นเอของไลเคน ซึ่งโดยปกติไลเคนประกอบด้วย รากลุ่ม Ascomycete และ สาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรีย ทว่าเมื่อเร็วๆ นี้พึ่งมีการค้นพบว่ามีจุลินทรีย์ชนิดที่ 3 ประกอบอยู่ในไลเคนด้วย ซึ่งก็คือ ยีสต์ในกลุ่ม Basidiomycete ซึ่งอาจมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์ทางกายภาพของไลเคนด้วย

ทีมนักวิจัยพึ่งค้นพบว่าไลเคนนั้นประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต 3 ชนิดอยู่ร่วมกัน เมื่อมีการทดสอบพันธุกรรมของไลเคน 2 ชนิดเปรียบเทียบกัน คือ ไลเคน Bryoria fremontii ซึ่งมีสีน้ำตาลเข้ม และไลเคน Bryoria tortuosa ซึ่งมีสีเหลือง และสร้างกรดวุลพินิก (vulpinic acid) ซึ่งเป็นสารพิษ ผลการทำ genome sequencing ปรากฏว่าไลเคนทั้งสองชนิดนี้มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกัน คือประกอบด้วย รา Ascomycete และสาหร่ายชนิดเดียวกัน ทว่าไลเคนนั้นมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ดูรูปด้าล่าง, A และ C) นักวิจัยจึงได้ทำการตรวจสอบรากลุ่ม basidiomycete เพิ่มเติม แล้วก็พบว่ามียีสต์กลุ่ม Basidiomycete อยู่ร่วมด้วย โดยยีสต์ที่พบในไลเคนหลายตัวอย่างๆ พบว่าอยู่ในเคลดเดียวกันคือ Cyphobasidium ซึ่งจัดเป็น sister ของ Cystobasidium minutum ซึ่งจัดอยู่ในคลาส Cystobasidiomycetes  ซับไฟลัม Pucciniomycotina

Screen Shot 0028-07-31 at 1.38.14 PM.png

รูปแสดงจำนวนของยีสต์ในไลเคน Bryoria fremontii เทียบกับ Bryoria tortuosa โดยใช้เทคนิค FISH ที่มี DNA probe จำเพาะต่อ Cystobasidiomycete rRNA sequence
(http://science.sciencemag.org/content/early/2016/07/20/science.aaf8287)

เป็นที่ทราบกันมานานหลายปีแล้วว่าในการอยู่ร่วมกันนั้น รา Ascomycete ให้ที่อาศัยและกำบัง ขณะที่สาหร่ายหรือไซยาโนแบคทีเรียนั้น ทำหน้าที่สร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง ปัจจุบันนี้มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่ายีสต์ทำหน้าที่ป้องกันให้กับรา Ascomycete และสาหร่าย โดยการสร้างกรดวุลพินิกซึ่งเป็นสารพิษ

เมื่อนักวิจัยพบยีสต์ในไลเคน จึงได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในตัวอย่างไลเคนชนิดอื่นๆ จากในบริเวณเดียวกันและจากทั่วทั้ง 6 ทวีปของโลก และก็พบว่าทุกตัวอย่างไลเคนนั้นมียีสต์อยู่ร่วมด้วยทั้งหมด ยีสต์ฝังตัวเองอยู่ในชั้นคอร์เท็กซ์ของไลเคน และจำนวนหรือปริมาณการมีอยู่ของมัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางฟีโนไทพ์ของไลเคน 

ที่มา:

http://www.popsci.com/new-research-finds-lichens-are-not-just-two-organism-marriage
http://science.sciencemag.org/content/early/2016/07/20/science.aaf8287